ผ่าฟันคุด X Ray ด้วยระบบดิจิตอล แผลเล็ก เจ็บน้อย ไม่ต้องพักฟื้น

Last updated: 24 ก.ย. 2567  |  45 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ผ่าฟันคุด X Ray ด้วยระบบดิจิตอล แผลเล็ก เจ็บน้อย ไม่ต้องพักฟื้น

  สาเหตุของการเกิดฟันคุด  


โดยปกติระบบการบดเคี้ยวอาหารจะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ขนาดของกระดูกขากรรไกรจึงมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ เช่นกัน ทำให้ฟันคุดซึ่งเป็นฟันกรามซี่สุดท้ายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดไม่มีพื้นที่พอที่จะขึ้นได้อย่างปกติ จนเป็นสาเหตุที่เรามีอาการปวด บวม อักเสบ จนต้องมาทำการเอาฟันคุดออกกัน
  
  ทำไมต้องผ่าฟันคุด  


1. เมื่อเหงือกอักเสบ บริเวณรอบซี่ฟันคุดจะมีเศษอาหารติดได้ง่าย ทำให้เกิดอาการอักเสบเรื้อรัง และมากกว่าปกติตามมา
2. ฟันคุดจะเกิดปัญหาฟันผุได้ง่าย เพราะเป็นตำแหน่งฟันด้านในสุด ยากต่อการทำความสะอาดได้ดี
3. เมื่อมีอาการปวด บวม แล้วหายหลาย ๆ ครั้ง จะเกิดถุงน้ำ Cyst รอบฟันคุด จะทำลายเหงือกและกระดูกรอบ ๆ ฟันซี่ข้างเคียงได้

 


 เริ่มรู้สึกมีอาการปวดร้าว อักเสบ จากน้อยสุดถึงมากที่สุด
 เหงือกบวม บางครั้งอาจบวมไปถึงแก้ม หรือกราม ซึ่งเป็นผลจากการอักเสบ หรือติดเชื้อได้ ถ้าปล่อยไว้นาน ๆ
 ปวดบริเวณขากรรไกร บางท่านอาจจะอ้าปากได้น้อย
 ฟันผุ เนื่องจากการแปรงฟัน และการใช้ไหมจัดฟันยากกว่าปกติ
 การรับรส และลมปากมีกลิ่นผิดปกติ เพราะเศษอาหารเข้าไปติดในบริเวณที่ทำความสะอาดยาก
 อ้าปากลำบาก / เจ็บเวลาอ้าปาก กรณีอาการบวมอักเสบลุกลามออกมานอกช่องปาก

  ลักษณะการขึ้นของฟันคุด  


Mesial impaction จะมีลักษณะทำมุมเอียง และดันฟันกรามซี่ข้างเคียงจากทางด้านหน้า มีชื่อเรียกอื่นว่า Angular หรือ Mesioangular impaction ลักษณะฟันคุดแบบนี้จะพบได้บ่อยที่สุด และมักขึ้นมาไม่เต็มซี่


Distal impaction เป็นลักษณะฟันคุดที่พบไม่บ่อย และเรียงตัวในทิศตรงข้ามกับ Mesial  ฟันคุดจะเอียงไปด้านหลังที่ไม่มีฟันอยู่ ทำให้หากฟันคุดอยู่ในตำแหน่งและมุมที่ไม่เอียงมาก จะมีโอกาสโผล่ขึ้นมาได้โดยไม่ก่อให้เกิดการอักเสบ อาจจะไม่ต้องผ่าฟันคุดหรือถอนฟันคุด หรือในบางกรณี ทันตแพทย์อาจจะรอติดตาม 1-2 ปี ก่อนจะตัดสินใจว่าต้องผ่าหรือไม่


Vertical impaction จะตั้งตรงในมุมปกติ ไม่เอียงไปดันฟันซี่ข้างเคียง ถือเป็นฟันคุดประเภทที่มีการพยากรณ์โรคที่ดี เพราะมีโอกาสสูงที่จะสามารถขึ้นมาได้ตามปกติโดยไม่ต้องผ่าฟันคุด หรือถอนฟันคุด


Horizontal impaction ฟันคุดจะเรียงตัวในตำแหน่งแนวนอน ถือเป็นฟันคุดที่เอาออกยากที่สุด ใช้เวลาในการรักษาและฟื้นตัวมากที่สุด ฉะนั้นควรได้รับการรักษาจากทันตแพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมเท่านั้น

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้